รังสีอัลตราไวโอเลต ( Ultraviolet Radiation : UV )
เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้น ช่วงต่อจากแสงสีม่วง (ระหว่างVisible Spectrum
กับ X-ray) เป็นรังสีที่ตาคนมองไม่เห็น และไม่สามารถรับรู้ได้ แบ่งเป็นสามประเภท ดังนี้
1. UV-A ช่วงความยาวคลื่น 315 nm – 400 nm ส่องเข้ามาในชั้นบรรยากาศมากที่สุดสามารถ
ผ่านทะลุกระจกได้ ส่งผลกระทบต่อผิวหนังมนุษย์ โดยทำลายคอลลาเจนใต้ผิวหนัง
ก่อให้เกิดรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำ
2. UV-B ช่วงความยาวคลื่น 280 nm – 315 nm ส่องเข้ามาในชั้นบรรยากาศเล็กน้อย
ไม่สามารถผ่านทะลุกระจกได้ส่งผลกระทบกับผิวไหม้ แสบร้อน
3. UV-C ช่วงความยาวคลื่น 100 nm – 280 nm แทบจะไม่ทะลุชั้นบรรยากาศเข้ามาเลย
เป็นช่วงคลื่นที่มีพลังงานสูงมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แต่มีประโยชน์ในการใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ดี
การใช้รังสี UV ในการกำจัดเชื้อโรค
มีการนำรังสี UV มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง แต่การนำรังสี UV
มาใช้ในการกำจัดเชื้อโรคจะใช้รังสี UV-C ซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
ในการทำลายเชื้อโรค ทั้งเชื้อไวรัส เชื้อรา และ
แบคทีเรีย ซึ่งการใช้แสง UV-C ในการกำจัดเชื้อแต่ละชนิดจะใช้เวลาต่างกัน
การใช้แสง UV ในการกำจัดเชื้อโรค เรียกว่า UVGI หรือ GUV ซึ่ง UVGI และ
GUV อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน UVGI ย่อมาจาก ultra violet germicidal irradiation
“การฉายรังสีอัลตราไวโอเลตเพื่อทำลายเชื้อโรค”
ในขณะที่ GUV ย่อมาจาก germicidal ultra violet
“การทำลายเชื้อโรค ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต”
รังสี UV-C ฆ่าเชื้อโรคได้อย่างไร
รังสี UV-C สามารถทำลาย DNA ของสิ่งมีชีวิต ด้วยคุณสมบัตินี้จึงมีการนำรังสี UV-C มาใช้ โดยรัง
สีจะทำลายเชื้อโรคโดยจะเข้าไปทำลาย DNA โดยการทำงานต้องอาศัยความเข้มของรังสี UV-C ในระดับ
ที่เพียงพอและระยะเวลาที่เหมาะสม (มากน้อยขึ้นอยู่กับเชื้อโรคแต่ละชนิด)
รังสี UV-C ที่ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ของ UV Care
รังสี UV-C ที่นำมาใช้ในการกำจัดเชื้อโรคเป็นรังสีที่สังเคราะห์ขึ้นจากหลอดไฟ UV-C ซึ่งหลอดประเภท
นี้มีหลายชนิดทั้งแบบที่สังเคราะห์เฉพาะรังสี UV-C และ แบบที่สังเคราะห์ทั้งรังสี UV-C และก๊าซโอโซน
(O3) แต่หลอดไฟ UV-C ที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ ของ UV Care เป็นรังสี UV-C ความยาวคลื่น 253.7
นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ไม่ทำให้เกิดก๊าซโอโซน (O3) จึงปลอดภัย
จากการตกค้างของก๊าซก๊าซโอโซน (O3) ซึ่งเป็นก๊าซพิษ
ข้อดี
• ไม่มีความร้อน สามารถใช้ได้กับวัสดุเกือบทุกประเภท
• ไม่มีสารตกค้าง ไม่เหมือนกับการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาเคมี หรือวิธีอื่นๆ
ข้อจำกัด
ประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อโรคขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง ซึ่งส่งผลต่อการใช้งานในระยะห่างจากแหล่ง
กำเนิดแสงและระยะเวลาในการได้รับแสง โดยยิ่งวัตถุอยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากจะได้รับความเข้มของ
แสงมาก ใช้ระยะเวลาในการได้รับแสงน้องกว่าวัตถุที่อยู่ไกลแสง UV-C มีอันตรายไม่ควรโดนตัว หรือมอง
ที่แหล่งกำเนิดแสงโดยตรงส่วนที่ไม่ได้รับการตกกระทบของแสงเช่น ถูกซ้อนทับหรืออยู่ในเงาของแสง
จะไม่ได้รับผลของการทำงานของแสง UV-C การดูดรังสี UV-C ทำได้ดีในที่อากาศแห้ง หากผ่านอากาศ
ชื้นอาจต้องเพิ่มจำนวนรังสีมากขึ้น